ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย : พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Buddhism
ชื่อปริญญา
- ชื่อเต็ม (ไทย) : พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- ชื่อย่อ (ไทย) : พธ.บ.(พระพุทธศาสนา)
- ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts Buddhism
- ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A.(Buddhism)
คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน
คณะต้นสังกัด
ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สถานที่เปิดสอน
วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีความมุ่งมั่นส่งเสริมในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถด้านพระพุทธศาสนาทั้งด้านวิชาการและภาคปฏิบัติมีหลักวิชาการ ที่นิสิตสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านอื่นๆ ตามหลักการศึกษาสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาชีวิต และพัฒนาสังคมประเทศชาติได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของหลักสูตร
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป มหาวิทยาลัยมีปณิธานอันมั่นคงในการที่จะเป็นศูนย์รวมแห่งวิทยาการด้านต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์มุ่งมั่นในการทำหน้าที่ให้การศึกษา ค้นคว้า วิจัย แสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาและประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัย และพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากลอีกทั้งจะทำหน้าที่เป็นแหล่งให้บริการความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอันจะก่อให้เกิดการพัฒนามวลมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้และเชียวชาญในพระพุทธศาสนาสามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจัยวิชาการด้านพระพุทธศาสนาได้อย่างแตกฉาน
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นผู้นำสังคมด้านจิตใจและปัญญา สามารถปรับตนเองเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดีและสามารถนำไปใช้ในวิถีชีวิตและนำพาสังคม
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาชีวิตและนำไปพัฒนาคณะสงฆ์และพัฒนาสังคมสืบไป
คณาจารย์ประจำหลักสูตร
๑. พระครูสุมณฑ์ธรรมธาดา (สายัณ จนฺทวํโส (บวบขม)) รายละเอียด
วุฒิการศึกษา
พธ.ด.(พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๕
พธ.ม.(พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๔
พธ.บ.(ปรัชญา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๒
น.ธ.เอก๒. พระครูปิยกิจบัณฑิต (กรกิจ ปิยธมฺโม (หงษ์สุข)) รายละเอียด
วุฒิการศึกษา
พธ.ม. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๖
พธ.บ. (ปรัชญา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๒
น.ธ.เอก๓. พระสมุห์เชษฐา ปิยสาสโน (เขียวสะอาด) รายละเอียด
วุฒิการศึกษา
พธ.ม. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๘
บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ๒๕๔๗๔. พันเอกเกื้อ ชัยภูมิ ดร. รายละเอียด
วุฒิการศึกษา
พธ.ด. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๙
M.A. Ancient Indian and Asian Studies มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย ๒๕๑๔
B.A.PalyArcharya,เปรียญธรรม ๙ ประโยค ๒๕๑๘๕. นายเสถียร สระทองให้ รายละเอียด
วุฒิการศึกษา
พธ.ม. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๗
พธ.บ. (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๕๔
น.ธ.เอก