ชื่อส่วนงาน ที่ตั้ง และประวัติ

แผนที่ตั้งวิทยาลัย

ชื่อส่วนงาน
ภาษาไทย : วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช
English : Phuttha Chinarat Buddhist College
ที่ตั้ง
วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช ตั้งอยู่บริเวณบ้านหนองไผ่ล้อม เลขที่ ๒๑๗ หมู่ ๖ ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก บนพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ไร่ ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมาโดยย่อ
วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เดิมมีฐานะเป็นโครงการขยายห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ ตั้งอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๓/๒๕๔๑ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ในปีการศึกษา ๒๕๔๑
พ.ศ. ๒๕๔๔ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาอังกฤษ
พ.ศ. ๒๕๔๖ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต วิชาเอกจริยศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓ /๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ประชุมมีมติยกฐานะห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ขึ้นเป็นวิทยาลัย ในนามวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้มีข้อกำหนดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช พุทธศักราช ๒๕๔๘ โดยให้ตราข้อกำหนดไว้ ดังนี้
ให้จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช โดยยกฐานะห้องเรียนคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ขึ้นเป็นวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา หน้า ๖๐ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๔๔ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไป รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๙ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๙ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๙ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้เปิดวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
พ.ศ. ๒๕๕๐ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (สำหรับคฤหัสถ์)
พ.ศ. ๒๕๕๑ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ประชุมมีมติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ วิชาเอกบริหาร รัฐกิจ (สำหรับคฤหัสถ์)
พ.ศ. ๒๕๕๑ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหน่วยวิทยบริการ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดท่านา อำเภอเมือง จังหวัดตาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๕๒ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ประชุมมีมติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (สำหรับบรรพชิต)
พ.ศ. ๒๕๕๒ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (สำหรับคฤหัสถ์) คณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๒ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ประชุมมีมติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดหน่วยวิทยบริการวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดหมอนไม้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
พ.ศ. ๒๕๕๒ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ย้ายสถานที่เรียนจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารไปที่วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช ซึ่งตั้งอยู่ที่ ๒๑๗ หมู่ ๖ บ้านหนองไผ่ล้อม ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และทำพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยได้รับความเมตตาจาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๒ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๕๔ สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๔ เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นายกสภามหาวิทยาลัย จึงประกาศไว้ดังต่อไปนี้
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติให้วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิชาเอกสังคมศึกษา (คฤหัสถ์) และวิชาเอกการสอนภาษาไทย (บรรพชิตและคฤหัสถ์)
ด้วยกรอบแนวความคิดของ พระธรรมเสนานุวัตร (บำรุง  ฐานุตฺตโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร รองเจ้าคณะภาค ๕ ประธานที่ปรึกษาวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชและเป็นผู้มอบที่ให้กับวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช  พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนและงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาของบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีความสนใจวิชาพระพุทธศาสนาและวิชาการทางโลก